วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 4 : โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

สวัสดีครับ ผู้ชมบล็อกทุกๆคน สัปดาห์นี้เราจะมาพูดเกี่ยวกับ ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งภาษาที่จะเลือกมานำเสนอ คือ ภาษา JAVA
หลายคนอาจจะคุ้น ชื่อนี้ จากการเล่นเกมส์โทรศัพท์ และหลายๆคน
อาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่วันนี้เราจะมารู้จักไปพร้อมกันครับ 

ไปดูกันเลยยยยย

ภาษาจาวา เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุที่พัฒนาขึ้นโดย  เจมส์ กอสลิง”   และทีมวิศวกรของเขา ซึ่งบริษัทซันไมโครซิสเต็ม ต้องการนำภาษาจาวามาใช้แทนภาษา  C++  ชื่อของ จาวามาจากชื่อกาแฟที่ทีมวิศวกรของซันดื่มตอนที่ร่วมกันพัฒนาภาษาจาวาขึ้นมา  Java  ถูกคิดค้นและสร้างโดย บริษัท Sun Microsystems ซึ่งเป็นบริษัทผู้ขายระบบ Unix ที่มีชื่อว่า Solaris ซึ่งจุดเด่นของภาษา Java อยู่ที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถใช้หลักการของ Object-Oriented Programming มาพัฒนาโปรแกรมของตนด้วย Java ได้ พัฒนาขึ้นโดยทีมวิจัยของ บริษัท ซันไมโครซิสเต็ม (Sun Microsystems)พัฒนามาจากโครงการที่ต้องการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กภายในบ้านชื่อเดิมคือภาษา Oak ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาจาวาภาษาจาวาเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในปี ค.ศ. 1995ภาษาจาวาเป็นภาษาที่ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์ม (platform independent)JDK 1.0 ประกาศใช้เมื่อปี1996JDK เวอร์ชันปัจจุบันคือ  Java 2
ความหมาย
ภาษาจาวา (Java Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท ซันไมโครซิสเต็มส์ เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP : Object-Oriented Programming) โปรแกรมที่เขียนขึ้นถูกสร้างภายในคลาส ดังนั้นคลาสคือที่เก็บเมทอด (Method) หรือพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมีสถานะ (State) และรูปพรรณ (Identity) ประจำพฤติกรรม (Behavior) 

ข้อดีของ ภาษา Java
ภาษา Java เป็นภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุแบบสมบูรณ์ ซึ่งเหมาะสำหรับพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อน การพัฒนาโปรแกรมแบบวัตถุจะช่วยให้เราสามารถใช้คำหรือชื่อ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบงานนั้นมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมได้ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษา Java จะมีความสามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ไม่จําเป็นต้องดัดแปลงแก้ไขโปรแกรม เช่น หากเขียนโปรแกรมบนเครื่อง Sun โปรแกรมนั้นก็สามารถถูก compile และ run บนเครื่องพีซีธรรมดาได้
-ภาษาจาวามีการตรวจสอบข้อผิดพลาดทั้งตอน compile time และ runtime ทำให้ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในโปรแกรม และช่วยให้ debug โปรแกรมได้ง่าย
ภาษาจาวามีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษา C++ เมื่อเปรียบเทียบ code ของโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยภาษา Java กับ C++ พบว่า โปรแกรมที่เขียนโดยภาษา Java จะมีจํานวน code น้อยกว่าโปรแกรมที่เขียนโดยภาษา C++ ทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่าและลดความผิดพลาดได้มากขึ้น
ภาษาจาวาถูกออกแบบมาให้มีความปลอดภัยสูงตั้งแต่แรก ทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยจาวามีความปลอดภัยมากกว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้น ด้วยภาษาอื่น เพราะ Java มี security ทั้ง low level และ high level ได้แก่ electronic signature, public andprivate key management, access control และ certificatesของ
-มี IDE, application server, และ library ต่าง ๆ มากมายสำหรับจาวาที่เราสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการซื้อ tool และ s/w ต่าง ๆ
ข้อเสียของ ภาษา Java
-ทำงานได้ช้ากว่า native code (โปรแกรมที่ compile ให้อยู่ในรูปของภาษาเครื่อง) หรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น อย่างเช่น C หรือ C++ ทั้งนี้ก็เพราะว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวาจะถูกแปลงเป็นภาษากลาง ก่อน แล้วเมื่อโปรแกรมทำงานคำสั่งของภาษากลางนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาเครื่องอีก ทีหนึ่ง ทีล่ะคำสั่ง (หรือกลุ่มของคำสั่ง) ณ runtime ทำให้ทำงานช้ากว่า native code ซึ่งอยู่ในรูปของภาษาเครื่องแล้วตั้งแต่ compile โปรแกรมที่ต้องการความเร็วในการทำงานจึงไม่นิยมเขียนด้วยจาวา
-tool ที่มีในการใช้พัฒนาโปรแกรมจาวามักไม่ค่อยเก่ง ทำให้หลายอย่างโปรแกรมเมอร์จะต้องเป็นคนทำเอง ทำให้ต้องเสียเวลาทำงานในส่วนที่ tool ทำไม่ได้ ถ้าเราดู tool ของ MS จะใช้งานได้ง่ายกว่า และพัฒนาได้เร็วกว่า (แต่เราต้องซื้อ tool ของ MS และก็ต้องรันบน platform ของ MS)
คุณลักษณะเด่นของภาษา Java
–  ภาษา Java เป็นภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุแบบสมบูรณ์
–  โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษา Java จะมีความสามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ไม่จําเป็นต้องดัดแปลงแก้ไขโปรแกรม เช่น หากเขียนโปรแกรมบนเครื่อง Sun โปรแกรมนั้นก็สามารถถูก compile และ run บนเครื่องพีซีธรรมดาได้
–  เมื่อเปรียบเทียบ code ของโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยภาษา Java กับ C++ พบว่า โปรแกรมที่เขียนโดยภาษา Java จะมีจํานวน code น้อยกว่าโปรแกรมที่เขียนโดยภาษา C++ ถึง 4 เท่า และใช้เวลาในการเขียนโปรแกรม น้อยกว่าประมาณ 2 เท่า
–  Java มี security ทั้ง low level และ high level ได้แก่ electronic signature, public andprivate key management, access control และ certificatesของภาษาจาวา
จุดเด่นของภาษาจาวา
–  ความง่าย (simple)
–  ภาษาเชิงออปเจ็ค (object oriented)
–  การกระจาย (distributed)
–  การป้อ้องกันการผิดพลาด (robust)
–  ความปลอดภัย (secure)
–  สถาปัตัตยกรรมกลาง (architecture neutral)
–  เคลื่อนย้ายง่าย (portable)
–  อินเตอร์พ์พรีต (interpreted)
–  ประสิทธิภาพสูง (high performance)
–  มัลติเธรด (multithreaded)
–  พลวัต (dynamic)

รูปแบบของภาษา Java
ภาษา Java เป็นภาษาที่ไม่กำหนดแบบการเขียนโปรแกรม ในแต่ละบรรทัด แต่ละบรรทัดสามารถเขียนคำสั่งได้หลายคำสั่งสามารถแทรกคำอธิบาย (comment) Java เป็นภาษาที่บังคับอักขระตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก (Case Sensitiv) Java มีตัวดำเนินการ(operators) หลายชนิด ให้ใช้งานนอกจากคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาใหม่ อาจกำหนดเป็นตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวเล็กก็ได้ และสามารถเขียนชุดคำสั่งที่ประกอบด้วยตัวดำเนินการหลายตัวที่ต่างชนิดกันในชุดคำสั่งหนึ่งๆได้ โดยภาษา Java จะจัดลำดับการประมวลผลตามลำดับการทำงานของตัวดำเนินการ
รูปแบบคำสั่ง(statements) Java คือ ส่วนประมวลผล(Execute) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา ทุกคำสั่งจะต้องจบด้วยเครื่องหมาย เซมิโคลอน( ; )
รูปแบบของ script
ในการเขียน script สามารถเขียน โดยในรูปแบบที่ 1 ได้โดยไม่ต้องระบุภาษาก็ได้ แต่ต้องเขียน tag ของ script ดังรูป
<Script>
JavaScript statements;
</Script>
<Script>
document.write(‘Somsak’);
</Script>


ในการเขียน script ตามรูปแบบที่ 2 โดยระบุภาษาเป็น javascript และเขียนใน tag ของ script ดังรูป
<Script Language=”JavaScript”>
JavaScript statements;
</Script>

การคำสั่งแสดงผล single quote (‘ ‘)
ในการเขียนการแสดงผลข้อมูลที่อยู่หลังคำสั่ง document นั้นสามารถเขียนใช้เครื่องหมายในแบบ single quote (‘ ‘) ก็ได้ดังรูป
<Script Language=”JavaScript”>
document.write(‘Somsak’);
</Script>

การใช้ HTML ร่วมกับ script ขึ้นบรรทัดใหม่ โดยใช้ <br> การกำหนดให้ขึ้นบรรทัดใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้รูปแบบของ tag HTML คือ <br> โดยการใส่ไว้หลังคำสั่ง document อาจจะเป็นข้างหน้า หรือข้างหลังก็ได้
<Script Language=”JavaScript”>
document.write(‘Somsak<br;
document.write(‘<fontlor=”red”>khampud</font>’);
</Script>

Source Code
ใน Java จะมี Source Code เป็น File ที่มีนามสกุล เป็น *.java เมื่อ ผ่านการ Compile แล้วจะมี File เพิ่มมาเป็น File ที่มีนามสกุลเป็น *.class  System.out.println  (“….” ); เป็นคำสั่งที่ใช้การแสดงตัวอักษรซอร์สโค้ดโปรแกรมจาวาอยู่ในแฟ้มที่มีนามสกุล  java

ต่อไปเป็นคลิปการเขียน JAVA ขั้นพื้นฐานนะครับ^^

หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะครับ 

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 3 : Social Network กับสังคมไทยและนักเรียน

     หากจะกล่าวถึง Social Network หลายคนคงได้ยินบ่อยมากๆในปัจจุบัน แต่อาจจะไม่รู้คาวมหมายของมันจริงเลยก็ได้
โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือ Social Network คือเครือข่ายสังคมออนไลน์  หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบ รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย  ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Hi5, Twitter หรือ Tagged เป็นต้น (บางเว็บไซต์ที่กล่าวถึงในตัวอย่าง ปัจจุบันนี้ได้เสื่อมความนิยมแล้ว)  การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้  เป็นทอดๆ ต่อไปเรื่อย  ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา  สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย  และเมื่อเราแชร์ (Share) ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย  ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน  และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้  เช่น  แสดงความคิดเห็น (Comment)  กดไลค์ (Like) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ  ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการต่างๆ 


โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามรูปแบบ แบ่งได้เป็น

1. Blog หรือ บล็อก คือเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง มาจากคำว่า Weblog (Website + Log) ซึ่งคำว่า Log ในที่นี้หมายถึง “ปูม” ดังนั้น Blog จึงมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่จัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีเดียวกับปูม  มีการเรียงลำดับตามวันที่บันทึก  ข้อมูลใหม่ที่ Post จะอยู่บนสุด  ส่วนข้อมูลเก่าจะอยู่ล่างสุด  โดยบล็อกสมัยนี้ไม่ได้อยู่ลำพังเดี่ยวๆ แต่มีลักษณะเป็น Community ที่รวบรวม Blog หลายๆ Blog เข้าไว้ด้วยกัน  สามารถเชื่อมโยงผู้เขียน (Blogger) ได้เป็นสังคมขนาดใหญ่  ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงผู้อ่านไว้กับผู้เขียนได้  โดยสามารถคอมเม้นต์บทความ  ติดตาม  หรือกดโหวตได้ เช่น Blogger เป็นต้น
2. ไมโครบล็อก (Microblog) เป็นเว็บไซต์ขนาดเล็ก ใช้สำหรับส่งข้อความสั้นๆ ไม่กี่ประโยค เพื่อบอกถึงสถานการณ์ และความเป็นไป ไมโครบล็อกที่มีผู้นิยมใช้บริการ เช่น Twitter
3. โซเชียลเน็ตเวิร์คเว็บไซต์ (Social Network Website) คือเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมออนไลน์โดยเฉพาะ เช่น Facebook, Linkedin, Myspace, Hi5 เป็นต้น เว็บพวกนี้มีจุดเด่นที่การแชร์คอนเม้นต์ ทั้งข้อความ รูปภาพ และวีดีโอ บางเว็บรวมไปถึงบทความ เพลง และลิ้งค์  นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่นในการแสดงความรู้สึก หรือมีส่วนร่วม เช่น การกดไลค์ (Like) การโหวต การอภิปราย (Discuss) และการแสดงความคิด เห็น เป็นต้น
4. เว็บโซเชียลบุ๊คมาร์ค (Bookmark Social Site) เป็นเว็บที่ให้เราเก็บหน้าเว็บ หรือเว็บไซต์ที่เราชื่นชอบ เพื่อเอาไว้เข้าชมทีหลัง แต่พอมาเป็นโซเชียลไซต์ เราจะสามารถแชร์ URL ของหน้าเว็บเหล่านั้น รวมถึงดูว่าคนอื่นเก็บหน้าเว็บอะไรไว้บ้าง เข้าชม และแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเว็บต่างๆ ได้

 โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน แบ่งได้เป็น
1. เผยแพร่ตัวตน (Identity Network) เป็นเว็บไซต์โซเชียลที่มุ่งเน้นการนำเสนอตัวตนของผู้ใช้งาน เรื่องราวของตัวเอง ภาพถ่ายของตัวเอง สิ่งที่ตัวเองชอบ หรือว่าสนใจ ความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ เว็บที่มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ Facebook, Myspace เป็นต้น
2. เผยแพร่ผลงาน (Creative Network) เป็นเว็บไซต์ที่เน้นไปที่ผลงานของเจ้าของเว็บ มากกว่าตัวตนของเจ้าของผลงาน  ส่วนมากเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คประเภทนี้  มักรวมผู้ที่ทำงานประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน  เช่น  เว็บรวมนักเขียนนิยาย  เว็บรวมคนรักการถ่ายภาพ  เว็บรวมนักออกแบบกราฟิก ฯลฯ  ซึ่งการสร้างเครือข่ายลักษณะนี้มักใช้ในการหาลูกค้า หรือเพื่อนร่วมอาชีพเป็นสำคัญ เช่น Coroflot, flickr, Multiply, DevianART เป็นต้น
3. ความสนใจตรงกัน (Interested Network)  เว็บไซต์ประเภทนี้คล้ายๆ กับเว็บเผยแพร่ผลงาน  คือ รวบรวมผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาไว้ด้วยกัน แต่ต่างกันที่ Interested Network เจ้าของเว็บไม่ต้องเป็นเจ้าของผลงาน แค่แชร์ลิ้งค์ หรือเว็บที่ตัวเองสนใจ เช่น Pinterest, del.licio.us, Digg, Zickr เป็นต้น
4. โลกเสมือน (Virtual life / Game online) เป็นลักษณะการจำลองตัวของผู้ใช้งานเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเกม หรือสถานการณ์สมมุติ โดยมีเรื่องราว หรือภาระกิจให้ปฏิบัติ โดยอาจจะปฏิบัติโดยลำพังแข่งกับผู้เล่นคนอื่น หรือร่วมกันเป็นทีมก็ได้  โดยในระหว่างเล่นสามารถพูดคุย หรือสื่อสารกับผู้เล่นอื่นๆ ได้ ทำให้มีลักษณะเป็น Social Network แบบหนึ่ง  เช่น Second Life, The SIM เป็นต้น

พฤติกรรมการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ของคนไทย

พฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ปรับเปลี่ยนจากการรับข่าวสารจาก Portral Site มาเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) เว็บไซต์ เริ่มเด่นชัดตั้งแต่ช่วงปี 2007 หรือ พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีผลการศึกษาพบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ใช้เพื่ออัพเดตข้อมูลข่าวสาร และอีก 1 ใน 3 เพื่อคุยกับเพื่อนและคนรู้จัก นั่นสะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่าผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ติดตามข่าวสารจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) มากขึ้นเรื่อยๆ

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 2 : เรื่องราวที่นักเรียนสนใจ



5 เมนูอาหารคลีนง่าย ๆ ทำง่ายกินง่ายได้สุขภาพ

  
          นักกินอาหารคลีนมือใหม่คงกำลังมองหาเมนูคลีนน่ากิน  ๆ ทำง่าย ๆ และกินไม่ยาก ต้องเจอกับเมนูอาหารคลีนกว่า 20 เมนูนี้ รับรองเด็ดโดนใจ
          สำหรับคนที่เพิ่งหันมาสนใจการกินอาหารสุขภาพอย่างอาหารคลีนหรือคลีนฟู้ด (Clean Food) ก็คงกำลังมองหาอาหารคลีนน่ากิน ๆ กันให้ควั่ก แต่เมนูคลีนบางเมนูก็กินยากเสียเหลือเกิน ทำใจกินก็ลำบากสุด ๆ วันนี้เลยรวบรวมเมนูอาหารคลีนฟู้ดกว่า 5 เมนูที่ทั้งทำง่าย ๆ รสชาติถูกปากคนไทยทำให้การกินอาหารคลีนเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เป็นสูตรและไอเดียมาจาก คุณ isweet สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ถ้าพร้อมจะเริ่มกินคลีนกันแล้วก็ตามมาเลย

เริ่มที่เมนูแรกกันเลย

1.ไก่ม้วนแตงกวาและแครอท

22 เมนูอาหารคลีนง่าย ๆ ทำง่ายกินง่ายได้สุขภาพ
ขอขอบคุณภาพจาก https://www.google.co.th/search?q=

ส่วนผสม
  • เนื้ออกไก่สับ
  • พริกไทยดำ 
  • แตงกวา
  • แครอท
  • เลม่อนสไลซ์
  • พาสเลย์
  • อัลมอนด์สไลซ์อบกรอบ
วิธีทำ
           1. นำเนื้ออกไก่สับไปกริลล์ในกระทะใส่น้ำมันมะกอกพอเคลือบกระทะ จากนั้นโรยพริกไทยดำลงไปแค่พอหอมเท่านั้น
           
           2. ใช้มีดปอกผลไม้ปอกแตงกว่าญี่ปุ่นกับแครอทเป็นเส้นยาว ๆ แล้วนำไก่ที่เราผัดไว้มาวางบนเส้นแตงกวาและแครอท ม้วนแล้ววางบนเลมอนสไลซ์ แต่งด้วยพาสเลย์และอัลมอนด์สไลซ์อบกรอบ จะได้อาหารเช้าเบา ๆ น่ารัก ๆ แล้วครับ ^^

           หมายเหตุ : แครอทเนื้อจะแข็งต้องใช้ไม้กลัดเอาไว้จะได้ไม่หลุดนะครับ

2.สเต็กอกไก่กับปลาดอรีกับเผือกต้มและสลัดผัก

22 เมนูอาหารคลีนง่าย ๆ ทำง่ายกินง่ายได้สุขภาพ
ขอขอบคุณภาพจาก https://www.google.co.th/search?q=

ส่วนผสม
  • เนื้ออกไก่
  • ปลาดอรี
  • เกลือและพริกไทย
  • เผือกต้ม 
  • ผักสลัด
  • มะเขือเทศราชินี
วิธีทำ

           1. นำอกไก่และปลาดอรีไปกริลล์ในกระทะเทฟล่อนที่ใส่น้ำมันประมาณ 1 ช้อนชา โดยใส่เลมอนลงไปกริลล์ย่างด้วยเพื่อเพิ่มเสน่ห์ด้วยกลิ่นหอม ๆ และรสเปรี้ยวจากเลมอน
           
           2. พอปลาและไก่สุก จัดใส่จาน โรยเกลือและพริกไทยดำป่นเล็กน้อย (น้อยมาก ๆ เลย เพราะจานนี้เราจะทานเนื้อปลาและไก่โดยรสเดิม ๆ ของเค้าจะหวานนิด ๆ อยู่แล้วค่ะ เพิ่มรสชาติหอมหวานเปรี้ยวนิด ๆ จากเลมอน โดยใส่เกลือและพริกไทยเพื่อเพิ่มรสชาติอีกนิดเดียวพอครับ)
           
           3. จัดเผือกต้ม ผักสลัด และมะเขือเทศราชินีใส่จาน จะได้ความหอมจากเผือกต้ม ความหวานอมเปรี้ยวนิด ๆ จากมะเขือเทศราชินี และความกรอบจากผักสลัด
           
           หมายเหตุ : อิ่มอร่อยแปลกไปอีกแบบ เพราะรสจะไม่จัดจ้านแต่ไม่ได้เลวร้าย ได้สารอาหารครบแต่แทบไม่มีไขมันเลย ลองดูนะครับ

3.หมี่ผัดผักกระเฉดกุ้ง


22 เมนูอาหารคลีนง่าย ๆ ทำง่ายกินง่ายได้สุขภาพ
ขอขอบคุณภาพจาก https://www.google.co.th/search?q=


ส่วนผสม
  • เส้นหมีข้าวกล้องแช่น้ำจนนิ่ม (ตัดสั้นประมาณ 1 คืบ)
  • กุ้ง
  • ผักกระเฉดเด็ดเป็นท่อน
  • กระเทียมสับ
  • ซีอิ้วหรือน้ำปลา แบบโซเดียมต่ำ (Low Sodium)
  • นำ้มันมะกอกสำหรับผัด 2-3 ช้อนชา

วิธีทำ

         
         1. ลวกเส้นหมี่ กุ้ง และผักกระเฉดให้สุก พักไว้
           
           2. นำกระเทียมสับไปเจียวกับน้ำมันให้หอม ใส่กุ้งลงไป ปรุงรสด้วยด้วยซีอิ๊วหรือน้ำปลา เติมน้ำเปล่าลงไปนิดหน่อยให้น้ำขลุกขลิก คนให้เข้ากันจนเดือด จากนั้นปรับเป็นไฟอ่อนสุด
           
           3. ใส่เส้นหมี่ข้าวกล้องและผักกระเฉดลงลวกสุกลงไป เคล้าทุกอย่างให้เข้ากันทั่ว ปิดไฟ ตักใส่จาน พร้อมเสิร์ฟ

           หมายเหตุ : ด้วยวิธีนี้จะทำให้เราใช้น้ำมันน้อยลงมาก ๆ เปิดไฟอ่อนแล้วคลุกทุกอย่างให้เข้ากันให้รสทั่วถึงไม่ต้องห่วงเรื่องผักเส้นจะไม่สุกเพราะเราลวกสุกทั้งหมดแล้ว ลองทำกันดูนะครับ

4. Sweet Salad Clean food

22 เมนูอาหารคลีนง่าย ๆ ทำง่ายกินง่ายได้สุขภาพ
ขอขอบคุณภาพจาก https://www.google.co.th/search?q=
ส่วนผสม
  • กล้วยหอม 1 ลูก
  • ส้ม 1 ลูก
  • แบล็คเบอรรี่ 50 กรัม
  • เลม่อน 2 ชิ้น
  • น้ำผิ้ง
วิธีทำ 
                          
           1. ใส่ทุกอย่าลงในจาน ราดด้วยน้ำผึ้ง พร้อมเสิร์ฟ

          หมายเหตุ : สามารถเปลี่ยนผลไม้อะไรก็ได้แล้วแต่ชอบ แต่ไม่ควรมากจนเกินไป 

5. กล้วยน้ำว้าคลุกมะพร้าว

22 เมนูอาหารคลีนง่าย ๆ ทำง่ายกินง่ายได้สุขภาพ
ขอขอบคุณภาพจาก https://www.google.co.th/search?q=
ส่วนผสม
  • มะพร้าวขูด
  • กล้วยน้ำว้าหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ
วิธีทำ
         1. นำมะพร้าวขูดขาวมาคั่วในกระทะจนเหลืองกรอบ
           
         2. นำกล้วยหั่นเป็นชิ้นพอคำไปคลุกกับมะพร้าวคั่วให้ทั่ว ใช้ไม้ค็อกเทลจิ้มสำหรับเสิร์ฟเป็นคำ ๆ น่ารักน่ามอง และอร่อยอย่าบอกใคร ที่สำคัญทำง่ายสุดๆ



จบไปแล้วกับเมนูอาหารคลีน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ...








วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวันของนักเรียน


 ขอขอบคุณภาพจากwww.tonypuy.com


เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

    ใน สังคมปัจจุบันไม่ว่าใครจะอยู่ที่ใด แม้ในเมืองหรือชนบทก็ตาม  ย่อมมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลหรือสังคมอื่นอยู่เสมอไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นหรือการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำ วันด้วยสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง   วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร ล้วนเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น


ประวัติโดยย่อของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

                 จากที่กล่าวมาแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการจากการรวมกันของเทคโนโลยี ด้าน คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งแต่ละด้านมีประวัติหรือพัฒนาการ ดังนี้     
    
 ขอขอบคุณภาพจากwww.it24hrs.com

เทคโนโลยีโทรคมนาคม
               
           
                 เทคโนโลยีโทรคมนาคม เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ แซมวล มอร์ส(Samual Morse) ในปี พ.ศ. 2380 นับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายเป็นระยะทาง ไกลๆได้ โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษร เป็นรหัสอื่นที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-) เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น... - - - ... การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้ง แรก

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
                
                คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่อง มือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
                หลักการของแบบเบจได้ถูกนำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์  หลังจากนั้นเป็นต้นมาได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น ยุค
ยุคของคอมพิวเตอร์